แม้ปัจจุบัน ในซีกโลกตะวันตกจะเริ่มหันมาปรับใช้กลยุทธ์การบริหารซัพพลายเชนแบบ ‘just-in-case’ หรือ ‘เผื่อไว้ดีกว่า’ ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติการสำหรับบริษัทผู้ผลิตมากกว่าซัพพลายเชนแบบ ‘just-in-time’ หรือ ‘ส่งเท่าที่ใช้’ แต่ก็อาจจะไม่มีความคล่องตัวมากนัก ในขณะที่ซีกโลกตะวันออก ซึ่งเป็นภูมิภาคการผลิตหลักของโลก ยังคงมีแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) และเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาเป็นผู้เล่นที่สำคัญในระดับนานาชาติมากมาย นอกจากนี้จากการเติบโตของ GDP ของประเทศต่างๆ ในเอเชีย และแนวโน้มบริโภคนิยมที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการด้านระบบกระจายสินค้าที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถสนับสนุนการเติบโตของแบรนด์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยิ่งไปกว่านั้น การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเอเชีย ยังส่งผลให้มีผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุคุณภาพมากมายหลายรายในตลาด เข้ามาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่โดยทั่วไปผ่านการขนส่งด้วยรถบรรทุก ก็ยังคงเต็มไปด้วยปัญหากวนใจมากมาย ทั้งสำหรับผู้ส่งสินค้าและผู้ให้บริการขนส่งเอง

ถึงแม้ว่ารถบรรทุกที่เราสามารถพบเจอได้ตามท้องถนน จะประกอบไปด้วยรถบรรทุกที่ให้บริการขนส่งสินค้าทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ แต่การให้บริการลักษณะนี้ในท้องตลาดก็ยังคงล้าหลังในด้านเทคโนโลยี และไม่มีความโปร่งใสในกระบวนการขนส่ง อีกทั้งยังไม่มีมาตรฐานราคากลางที่ผู้ให้บริการสามารถนำไปปรับใช้แข่งขันกันได้โดยทั่วกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบบริการขนส่งแบบ Less-Than-Truckload หรือ LTL เนื่องจากระบบปฏิบัติการที่ขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีต้นทุนที่สูงขึ้นไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย ต้นทุนการขนส่งนั้นเรียกได้ว่าสูงกว่าในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับมูลค่า GDP

ด้วยเหตุนี้ การมีเครือข่ายกระจายสินค้าที่รวดเร็ว ยืดหยุ่น และโปร่งใส จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเผชิญหน้ากับความท้าทายในอนาคต ไม่ว่าจะในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค หรือทั่วโลก โดยเครือข่ายในลักษณะนี้ควรมีการปรับใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและมอบคุณภาพในระดับเดียวกับที่สามารถเห็นได้จากบริษัทผู้ให้บริการขนส่งพัสดุด่วนในปัจจุบัน หรืออาจจำเป็นต้องมีคุณภาพสูงกว่า

การก้าวไปสู่อนาคตของการส่งสินค้าแบบ LTL จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ ผ่านการประยุกต์ใช้ทฤษฎีในทางปฏิบัติ (praxis) และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ พร้อมใช้ประโยชน์จาก Big Data เพื่อคาดการณ์สถานการณ์ นอกจากนี้เทคโนโลยี blockchain ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เนื่องจากเทคโนโลยีนี้สามารถให้ประสิทธิภาพในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ภายใต้ความปลอดภัยระดับสูง พร้อมความสามารถในการติดตามที่มาที่ไปของข้อมูลได้อย่างแม่นยำ (data lineage)

ปัญหาการวิ่งรถเปล่าในขากลับ

หนึ่งในปัญหาหลักที่ควรได้รับการแก้ไข คือการที่บรรทุกจำนวนมากต้องวิ่งรถเปล่าในขากลับ หลังได้ส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า โดยในประเทศไทยรถบรรทุกราว 80 เปอร์เซ็นต์ประสบปัญหาในลักษณะนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นปัญหาทางด้านประสิทธิภาพและต้นทุนสำหรับธุรกิจ แต่ยังการสิ้นเปลืองทรัพยาการพลังงานอันมีค่าของประเทศเป็นอย่างมากอีกด้วย

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา เราอาจพิจารณาปรับใช้เครือข่ายการขนส่งสินค้าบนพาเลท (Pallet Network) ซึ่งได้มีการใช้งานในสหราชอาณาจักรมาเป็นเวลากว่า 25 ปี โดยระยะแรกของการดำเนินการในลักษณะนี้ อัตราการใช้งานพื้นที่ขนส่งในรถบรรทุก (load utilization) ในการปฏิบัติการขนส่งแบบทั่วไป ได้เพิ่มขึ้นจาก 51 เปอร์เซ็นต์ เป็น 73 เปอร์เซ็นต์

โดยตลอดช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ผลลัพธ์อัตราการใช้พื้นที่รถบรรทุกที่เพิ่มขึ้นนี้ ก็ยังคงคงที่อยู่ในระดับเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพระยะยาวของการดำเนินการผ่านเครือข่ายพาเลท และยิ่งไปกว่านั้น ในปี 2021 การใช้งานพื้นที่ขนส่งในรถบรรทุกยังได้เพิ่มขึ้นเป็นถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุนี้การดำเนินการรวบรวมสินค้า (consolidation) และการเปลี่ยนถ่ายสินค้าผ่านคลัง (cross-docking) อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งสินค้า LTL แบบหลายจุด ผ่านเครือข่ายพาเลทที่ดำเนินการตามหลักการ Hub and Spoke จึงถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาการวิ่งรถเปล่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โซลูชันของ APX

เครือข่ายพาเลทของ APX ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการรถบรรทุก ผ่านความสามารถในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืน โดยปัจจัยที่ช่วยเพิ่มอัตราการใช้งานพื้นที่ขนส่งในรถบรรทุกผ่านการทำงานร่วมกับ APX ได้แก่

  1. สมาชิกผู้ให้บริการขนส่งโดยรถบรรทุก (Trucking Member) ของ APX จะดำเนินการขนส่งสินค้าทั่วไทยผ่านคลังสินค้าของสมาชิกเองและศูนย์กระจายสินค้า โดยมุ่งใช้พื้นที่บนรถบรรทุกให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทั้งสองทิศทาง
  2. ศูนย์กระจายสินค้าที่มีการปฏิบัติการช่วงเวลากลางคืน ช่วยให้ไม่เสียเวลากับกระบวนการขนยกสินค้าขึ้นและลงจากรถ และส่งผลให้รถบรรทุกสามารถวนรถกลับไปยังคลังสินค้าต้นทางได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  3. สมาชิกสามารถให้ประโยชน์จากเครือข่ายเพื่อประหยัดเวลา แรงงาน และน้ำมัน ผ่านการขนส่งโดยใช้พาเลท โดยให้สมาชิกอื่นเป็นผู้ดำเนินการขนส่งต่อ ๆ กันจนถึงปลายทาง
  4. เครือข่ายพาเลทไม่เพียงแต่มีประโยชนสำหรับการขนส่งแบบ LTL เท่านั้น แต่ยังสามารถใช้เพื่อเสริมบริการขนส่งรูปแบบอื่นๆ อาทิเช่น การขนส่งแบบบรรทุกบางส่วน (PTL) และแบบเต็มคัน (FTL) โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นขนส่งในรถบรรทุก ผ่านการจำแนกและจัดกลุ่มสินค้า
  5. การเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งระหว่างศูนย์กระจายสินค้ามีส่วนช่วยให้มีการใช้พื้นที่ขนส่งในรถบรรทุกมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะเพิ่มอัตราการใช้พื้นรถบรรทุกโดยรวมแล้ว ยังส่งผลให้การปฏิบัติการขนส่งสินค้าเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
  6. เครือข่ายสมาชิกที่หลากหลายและความสามารถในการขนส่งที่แตกต่างกัน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้มีการใช้พื้นที่ในรถบรรทุกสูงยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถเลือกขนาดของรถบรรทุกให้เหมาะสมสำหรับประเภทและปริมาณสินค้า เพื่อขนส่งไปยังจุดปลายทางเอง หรืออาจส่งต่อให้สมาชิกรายอื่นดำเนินการต่อได้อีกด้วย

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ภายใต้การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพด้านต้นทุนและทรัพยากร พร้อมด้วยศักยภาพในการเผชิญหน้าความท้าทายของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในอนาคต ล้วนแต่ส่งผลให้การขนส่งผ่านเครือข่ายพาเลทกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกการขนส่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน