APX ช่วยแก้ปัญหาการวิ่งรถบรรทุกเปล่าในขากลับได้อย่างไร?

แม้ปัจจุบัน ในซีกโลกตะวันตกจะเริ่มหันมาปรับใช้กลยุทธ์การบริหารซัพพลายเชนแบบ ‘just-in-case’ หรือ ‘เผื่อไว้ดีกว่า’ ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติการสำหรับบริษัทผู้ผลิตมากกว่าซัพพลายเชนแบบ ‘just-in-time’ หรือ ‘ส่งเท่าที่ใช้’ แต่ก็อาจจะไม่มีความคล่องตัวมากนัก ในขณะที่ซีกโลกตะวันออก ซึ่งเป็นภูมิภาคการผลิตหลักของโลก ยังคงมีแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) และเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาเป็นผู้เล่นที่สำคัญในระดับนานาชาติมากมาย นอกจากนี้จากการเติบโตของ GDP ของประเทศต่างๆ ในเอเชีย และแนวโน้มบริโภคนิยมที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการด้านระบบกระจายสินค้าที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถสนับสนุนการเติบโตของแบรนด์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเอเชีย ยังส่งผลให้มีผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุคุณภาพมากมายหลายรายในตลาด เข้ามาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่โดยทั่วไปผ่านการขนส่งด้วยรถบรรทุก ก็ยังคงเต็มไปด้วยปัญหากวนใจมากมาย ทั้งสำหรับผู้ส่งสินค้าและผู้ให้บริการขนส่งเอง ถึงแม้ว่ารถบรรทุกที่เราสามารถพบเจอได้ตามท้องถนน จะประกอบไปด้วยรถบรรทุกที่ให้บริการขนส่งสินค้าทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ แต่การให้บริการลักษณะนี้ในท้องตลาดก็ยังคงล้าหลังในด้านเทคโนโลยี และไม่มีความโปร่งใสในกระบวนการขนส่ง อีกทั้งยังไม่มีมาตรฐานราคากลางที่ผู้ให้บริการสามารถนำไปปรับใช้แข่งขันกันได้โดยทั่วกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบบริการขนส่งแบบ Less-Than-Truckload หรือ LTL เนื่องจากระบบปฏิบัติการที่ขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีต้นทุนที่สูงขึ้นไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศไทย ต้นทุนการขนส่งนั้นเรียกได้ว่าสูงกว่าในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับมูลค่า GDP ด้วยเหตุนี้ การมีเครือข่ายกระจายสินค้าที่รวดเร็ว ยืดหยุ่น […]